การตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องมือวัด

อุณหภูมิ‌รอบด้าน‌มี‌ผล‌ต่อ‌ความ‌แม่นยำ‌มาก‌ที่สุด โดยเฉพาะ‌‌‌อย่างยิ่ง‌‌‌ความ‌‌‌แตกต่าง‌‌‌ของ‌‌‌อุณหภูมิ‌‌‌จาก‌‌‌พื้น‌‌‌ขึ้นไป‌‌‌ที่‌‌‌ระดับ‌‌‌สูงกว่า‌‌‌สามารถ‌‌‌เบี่ยงเบน‌‌‌ลำแสง‌‌‌เลเซอร์‌‌‌ได้

เพื่อลดอิทธิพลทางความร้อนเนื่องด้วยความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากพื้น ขอแนะนำให้ใช้เครื่องมือวัดพร้อมขาตั้ง หาก‌เป็นไปได้‌ให้‌ตั้ง‌เครื่องมือ‌วัด‌ไว้‌กลาง‌พื้นที่‌ทำงาน‌ด้วย

นอกจากสาเหตุและปัจจัยจากภายนอกแล้ว สาเหตุและปัจจัยเฉพาะตัวอุปกรณ์เอง (ต. ย. เช่น การตกหล่น หรือการกระแทกอย่างรุนแรง) อาจนำไปสู่การเบี่ยงเบนได้ด้วย ดังนั้นให้ตรวจสอบความแม่นยำการทำระดับทุกครั้งก่อนเริ่มทำงาน

ในเบื้องต้น ให้ตรวจสอบความแม่นยำความสูงและความแม่นยำการทำระดับของเส้นเลเซอร์แนวนอน จากนั้นจึงตรวจสอบความแม่นยำการทำระดับของเส้นเลเซอร์แนวตั้ง

หากเครื่องมือวัดเบี่ยงเบนเกินค่าเบี่ยงเบนสูงสุดในระหว่างการทดสอบครั้งใดครั้งหนึ่ง ให้ส่งเครื่องให้ศูนย์บริการหลังการขาย Bosch ซ่อมแซม

สำหรับการตรวจสอบ ต้องใช้ระยะทางวัดว่างเปล่า 5 ม. บนพื้นผิวที่มั่นคงระหว่างผนัง A และ B

  • ประกอบ‌เครื่องมือ‌วัด‌เข้าบน‌ขาตั้ง‌แบบ‌สามขา หรือ‌วาง‌เครื่อง‌บน‌พื้นผิว‌ที่‌มั่นคง‌และ‌ราบ‌เสมอกัน‌ใกล้กับ‌ผนัง A เปิดสวิทช์‌เครื่องมือ‌วัด
  • ชี้เลเซอร์ไปยังผนังฝั่งใกล้ A และปล่อยให้เครื่องมือวัดทำระดับ ทำเครื่องหมายตรงกลางจุดตรงที่เส้นเลเซอร์ไขว้กันที่ผนัง A (จุด I)
  • หมุนเครื่องมือวัดไป 180° ปล่อยให้เครื่องมือวัดทำระดับและทำเครื่องหมายที่จุดไขว้ของเส้นเลเซอร์บนผนังฝั่งตรงข้าม B (จุด II)
  • วางเครื่องมือวัดใกล้ผนัง B โดยไม่หมุนเครื่อง เปิดสวิทช์เครื่องมือวัดและปล่อยให้ทำระดับ
  • วางแนวความสูงของเครื่องมือวัด (โดยปรับที่ขาตั้งแบบสามขาหรือใช้สิ่งของรองข้างใต้ หากจำเป็น) ในลักษณะให้จุดไขว้ของเส้นเลเซอร์ตกลงบนจุดเครื่องหมายอันก่อน II บนผนัง B อย่างพอดิบพอดี
  • หมุนเครื่องมือวัดไป 180° โดยไม่เปลี่ยนความสูงชี้เลเซอร์ไปยังผนัง A ในลักษณะให้เส้นเลเซอร์แนวตั้งวิ่งผ่านจุดที่ทำเครื่องหมายไว้แล้ว I ปล่อยให้เครื่องมือวัดทำระดับ และทำเครื่องหมายที่จุดไขว้ของเส้นเลเซอร์บนผนัง A (จุด III)
  • ความต่าง d ของจุดเครื่องหมายทั้งสอง I และ III บนผนัง A แสดงความเบี่ยงเบนความสูงที่แท้จริงของเครื่องมือวัด

ที่ระยะทางวัด 2 × 5 ม. = 10 ม. ความเบี่ยงเบนสูงสุดที่อนุญาตคือ:
10 ม. × ±0.6 มม./ม. = ±6 มม. ดังนั้นความต่าง d ระหว่างจุด Ⅰ และ Ⅲ ต้องไม่เกิน 6 มม.

สำหรับการตรวจสอบ ต้องใช้พื้นผิวว่างเปล่าประมาณ 5 × 5 ม.

  • ติดตั้งเครื่องมือวัดเข้าบนขาตั้งหรือวางเครื่องบนพื้นผิวที่มั่นคงและราบเสมอกันระหว่างผนัง A กับ B เปิดใช้งาน‌เครื่องมือ‌วัด แล้วปล่อยให้เครื่องมือทำการปรับระดับ
  • ที่ระยะ 2.5 ม. ห่างจากเครื่องมือวัด ให้ทำเครื่องหมายตรงกลางเส้นเลเซอร์บนผนังทั้งสองด้าน (จุด I บนผนัง A และจุด II บนผนัง B)
  • ตั้งเครื่องมือวัดห่างออกไป 5 ม. โดยหมุนเครื่องไป 180° และปล่อยให้เครื่องมือวัดทำระดับ
  • ปรับความสูงของเครื่องมือวัด (โดยปรับที่ขาตั้งแบบสามขาหรือใช้สิ่งของรองข้างใต้ หากจำเป็น) ในลักษณะให้จุดกลางของเส้นเลเซอร์ตกลงบนจุดเครื่องหมายอันก่อน II บนผนัง B อย่างพอดิบพอดี
  • ทำเครื่องหมายตรงกลางเส้นเลเซอร์เป็นจุด III (อยู่ในแนวตรงเหนือหรือใต้จุด I) บนผนัง A
  • ความต่าง d ของจุดเครื่องหมายทั้งสอง I และ III บนผนัง A แสดงความเบี่ยงเบนของเครื่องมือวัดจากระนาบราบในขณะนั้น

ที่ระยะทางวัด 2 × 5 ม. = 10 ม. ความเบี่ยงเบนสูงสุดที่อนุญาตคือ:
10 ม. × ±0.6 มม./ม. = ±6 มม. ดังนั้นความต่าง d ระหว่างจุด Ⅰ และ Ⅲ ต้องไม่เกิน 6 มม.

สำหรับการตรวจสอบ ต้องใช้ช่องประตูที่มีพื้นที่ว่างแต่ละด้านห่างจากประตูอย่างน้อย 2.5 เมตร (บนพื้นผิวที่มั่นคง)

  • วางเครื่องมือวัดบนพื้นผิวที่มั่นคงและราบเสมอกัน (ไม่วางบนขาตั้ง) โดยให้อยู่ห่างจากช่องประตู 2.5 ม. เปิดใช้งาน‌เครื่องมือ‌วัด แล้วปล่อยให้เครื่องมือทำการปรับระดับ
  • ทำเครื่องหมายตรงกลางเส้นเลเซอร์แนวตั้งที่พื้นของช่องประตู (จุด I) ที่ระยะห่างออกไป 5 เมตรเลยไปอีกด้านหนึ่งของช่องประตู (จุด II) และที่ขอบด้านบนของช่องประตู (จุด III)
  • วางเครื่องมือวัดไว้อีกด้านหนึ่งของช่องประตูตรงเผงหลังจุด II ปล่อยให้เครื่องมือวัดทำระดับ และวางแนวเส้นเลเซอร์แนวตั้งในลักษณะให้จุดกลางของเส้นเลเซอร์วิ่งผ่านจุด I และ II อย่างพอดิบพอดี
  • ทำเครื่องหมายตรงกลางเส้นเลเซอร์ที่ขอบด้านบนของช่องประตูให้เป็นจุด IV
  • ความต่าง d ของจุดเครื่องหมายทั้งสอง III และ IV แสดงความเบี่ยงเบนที่แท้จริงของเครื่องมือวัดจากแนวตั้ง
  • วัดความสูงของช่องประตู

ความเบี่ยงเบนสูงสุดที่อนุญาตคำนวณดังต่อไปนี้:
สองเท่าของความสูงช่องประตู × 0.6 มม./ม.
ตัวอย่าง: ถ้าความสูงช่องประตูคือ 2 ม. ความเบี่ยงเบนสูงสุดต้องไม่เกิน
2 × 2 ม. × ±0.6 มม./ม. = ±2.4 มม. ดังนั้นจุด Ⅲ และ Ⅳ ต้องห่างจากกันไม่เกิน 2.4 มม.